11.28.2553

กิจกรรทที่2

ให้นักศึกษาศึกษาทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ ในประเด็นนี้
   1. มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฎีใครบ้าง
   2. นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
ให้สรุปเขียนลงในกิจกรรมที่ 2 ลงในเว็บล็อกของนักศึกษา โดยสรุปจากการอ่านของนักศึกษาให้มีการอ้างอิงสิ่งที่นักศึกษานำมาใช้เขียน
หลักการบริหารจัดการ
การบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี ฟาโยล (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor  จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน จิตวิทยา Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
                    2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
                    2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
                    2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
                    2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
                    2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
                    2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
                    2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)

       ทฤษฎีบริหารจัดการ
ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
ทฤษฎีการบริหารแบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม  ดังนี้
1. กลุ่มคลาสสิค  (Classical Organizational Thought)
เป็นรูปแบบการบริหารที่มีหลักเกณฑ์(Scientific  Management)
                                Taylor                                   Fayol เน้นหน้าที่ในการบริหาร
                                1. ค้นวิธีทำงานที่ดีที่สุด       1.  การวางแผน (P)
                                2. คัด/พัฒนาคน                     2. การจัดองค์กร(O)
                                3. วิธีทำงาน                            3. การบังคับบัญชา(C)
                                4. ประสานงาน                      4. การประสานงาน(C)
                                                                                   5. การควบคุมงาน(C)   

2. การบริหารกลุ่มมนุษยสัมพันธ์
การทดลอง Hawthorn Plant ของ Mayoมีแนวคิด 5 ข้อที่มุ่งคนเป็นหัวใจของการบริหาร
                                1. กฎเกณฑ์การทำงานของคนในกลุ่ม
                                2. รางวัลคนในกลุ่ม
                                3. ความรับผิดชอบของคนในกลุ่ม ผู้บิหารควบคุมน้อยสุด
                                4. การบังคับบัญชาแบบมีส่วนร่วม
                                5. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในกลุ่ม

3. ทฤษฎีการบริหารแบบพฤติกรรมศาสตร์
แมกเกรเกอร์ (McGregor)แบ่งธรรมชาติคนเป็น 2 แบบคือ

                ทฤษฎี X                                                ทฤษฎี Y
                มองคนในแง่ไม่ดี                                มองคนในแง่ดี    

1.กลุ่มคลาสสิค (Classical Organizational Thought)
ผู้ที่คิดค้นทฤษฎีนี้คือ เฟรดเดอร์ริค เทเลอร์ (Frederick w. Taylor)  ซึ่งได้รับการยกย่องว่า เป็นบิดาของทฤษฎีบริหารกลุ่มคลาสสิค  โดยมีความเชื่อว่า เขาสามารถวางหลักเกณฑ์ให้ผู้ปฏิบัติงานมีความสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพได้
ต่อมา ลินคอน เออวิค (Lyndall Urwick)  และ ลูเธอร์ กูลิค (Luther Gulick)  ได้ทำการวิจัยพบว่า พฤติกรรมของผู้บริหารจะประกอบด้วยหลักที่ นิยมเรียกกันว่า POSDCoRB

2.กลุ่มมนุษยสัมพันธ์(Human Relation Approach)
ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นเพื่อปรับปรุงจุดอ่อนของกลุ่มทฤษฎีคลาสสิค โดยได้มีการทดลองที่ Hawthorne Plant ซึ่งกำหนดสมมติฐานว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพและปริมาณของแสงสว่างกับประสิทธิภาพของงาน”  จากผลการทดลอง 3 ครั้ง พบว่า  ผลผลิตของคนงานไม่มีความสัมพันธ์กับสภาพของแสงสว่างและมีตัวแปรหลายตัวที่ไม่สามารถควบคุมได้ระหว่างการทดลอง
ต่อมาได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อตรวจสอบผลการทดลองที่ Hawthorne Plant  โดยตั้งสมมติฐานว่า สิ่งแวดล้อมทางกายภาพของการทำงานมีความ สัมพันธ์กับผลผลิตที่ได้รับ
ผลการทดลองพบว่า         
              พฤติกรรมการทำงานของพนักงาน ไม่ได้เกิดจากมาตรฐานงานที่องค์การกำหนด  พนักงานรวมตัวกันเป็นโครงสร้างสังคมกลุ่มย่อย  อันประกอบด้วย  ปทัสถาน (norms)  ค่านิยม (value) และ จิตใจ (sentiments)  ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน

3.  กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์  (Behavioral Science Approach)
ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นโดยการผสมผสานระหว่างสอง  ทฤษฎีแรก  ผนวกกับหลักการทางด้านจิตวิทยา    สังคมวิทยา  การเมืองและเศรษฐศาสตร์  เป็นกลุ่ม ทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมทางสังคมหรือพฤติกรรมของกลุ่มย่อยที่เหมาะสมกับโครงสร้างการบริหารงานรูปแบบ            
ซึ่ง อาจต้องใช้ศาสตร์การบริหารที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา หรือ อื่น ๆ ศาสตร์เหล่านี้จัดได้ว่า เป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมกลุ่มย่อย ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานและประสิทธิภาพประสิทธิผลของงานในองค์การ

4.  กลุ่มทฤษฎีระบบ (A System View)
ทฤษฎีการบริหารในปัจจุบันได้พยายามให้ความสำคัญกับระบบ กล่าวคือ มีปัจจัยป้อน (input)กระบวนการ(process) และผลผลิต (output)  ที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน  กลุ่มทฤษฎีระบบแยกเป็น2 กลุ่ม คือ
4.1 ระบบปิด(ระบบเหตุผล) 
               มี ความเชื่อว่า องค์การเป็นเครื่องมือที่ออกแบบมา เพื่อให้การทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ แนวคิดนี้มีการตัดสินใจ แก้ปัญหาตามเหตุผลบนฐานของกฎเกณฑ์ ระเบียบที่ตั้งไว้  เน้นความสนใจเฉพาะภายในระบบขององค์กร
4.2  ระบบเปิด
               เชื่อ ว่า องค์การมีศักยภาพที่จะได้รับข้อมูลย้อนกลับ เพื่อนำข้อมูลย้อนกลับมาปรับปรุงส่วนต่างๆ ของระบบคือ ปัจจัยป้อน กระบวนการ และผลผลิตโดยองค์การที่อยู่รอดคือ องค์การที่ปรับตัวได้สมดุลกับสิ่งแวดล้อม  และเป็นองค์การเปิด เน้นความสนใจระบบทั้งในและ   นอกองค์การ
          อ้างอิง
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, และวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริพงษ์ เศาภายน, (2548). หลักการบริหารการศึกษา : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.
สมศักดิ์ คงเที่ยง, (ม.ป.ป.) หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : มิตรภาพ การพิมพ์และสติวดิโอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น