12.26.2553

กิจกรรมที่ 6

มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ
          1.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู
มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
              มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู


      2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
- ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
- แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์

    3. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม     

    การนำไปประยุกต์ใช้         
         เพื่อให้มีการรักษามาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคงความสำคัญของวิชาชีพ ทุกวงการวิชาชีพจึงมีกลยุทธ์ในการใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบ และวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ

12.10.2553

กิจกรรมที่ 5

บทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้

             “ต้นแบบ” ว่ามี 2 นัย นัยแรกคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่าง ศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ นัยที่สองคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรสิ่งดีงาม ต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ ไม่ต้องสอนกันตรง ๆ เพียงแค่ผู้ดูแบบ....ได้เห็น... ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติ ศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ แม้ไม่รู้จัก แม้เพียงแค่มอง ผู้ดูแบบก็ได้อานิสงส์มากมาย “แค่อยู่ให้เห็นก็เป็นแรงบันดาลใจมหาศาล”
จุดเริ่มต้นของการเกิดแรงบันดาลใจในชีวิตผู้ดูแบบ คือการ ได้รู้ ได้ดู ได้เห็นต้นแบบ เกิดศรัทธาต่อต้นแบบ เกิดแรงบันดาลใจให้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เลียนแบบของต้นแบบ หากเราเผยแพร่ตัวแบบที่ไม่เหมาะสมต้นแบบชองการกระทำในอบายมุข ต้นแบบของการฉ้อราษฎร์ ต้นแบบของการหยาบคายในกิริยาและวาจา ต้นแบบของการประจบสอพลอ ฯลฯ สังคมจะดูต้นแบบที่น่าชื่นใจเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างคุณภาพดีแก่เยาวชน แก่ประเทศชาติจากที่ไหน


นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร

            นำมาพัฒนาในตนเองก็คือ เมื่อจะเป็นครูจะปฎิบัติตัวให้เหมาะสม ปฎิบัติตนให้ดี ให้ถูกต้อง และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกศิทย์และบุคคลทั่วไป เ และจะพยายามดูแบบอย่างที่ดีจากคนอื่นด้วย เพื่อมาปรับปรุงในสิ่งที่ไม่เหมาะสมในตัวของข้าพเจ้า

12.09.2553

กิจกรรมที่ 4

ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่อง ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง และสรุปสิ่งที่นักศึกษาอ่านได้ลงในบล็อกของนักศึกษา
ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง
ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด
การ เปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เราทุกคนคงยอมรับว่าไม่มียุคสมัยใดที่การเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วและมีผลกระทบ รุนแรงเท่า ในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงได้สร้างหายนะ ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงก็ได้สร้างโอกาสใหม่ๆได้ ดังคำกล่าวของ ชาร์ล ดาร์วิน ที่ว่า "ผู้ที่อยู่รอด มิใช่เป็นสายพันธ์ (Species) ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด หากแต่ว่าเป็นผู้ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดต่างหาก"
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและยิ่งใหญ่คือ การปรับเปลี่ยนมุมมอง (ทิฏฐิ) และทัศนคติ (Attitude) การ รู้จักเปิดใจกว้าง ไม่ยึดติดอยู่กับความคิด หรือความรู้เดิมๆ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เป็นการเริ่มต้นสู่การเปิดรับสิ่งใหม่ด้วยใจที่ไม่อคติ (Bias)
การสร้างการเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกล่าวคงจะไม่ใช่เรื่องที่ง่าย หากเรายังใช้แต่หลักทางด้านการจัดการ (Management) อยู่  เรื่องการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน  ซึ่งเรื่องของคนนั้นหากจะให้ได้ผลแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ (Leadership) มากกว่าที่จะใช้การจัดการ ภาวะผู้นำหรือความสามารถในการนำนี้ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ
การ สร้างศรัทธาเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การนำนี้สำเร็จ เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา วิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นมานั้นจะดึงดูดและชวนให้ตื่นตาตื่นใจสักเพียงใดก็ตาม แต่หากคนทั่วไปไม่ยอมรับนับถือหรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว
วิสัยทัศน์ที่วางไว้นั้นก็มักจะไร้ความหมาย ไม่มีน้ำหนัก ปราศจาก Momentum แต่ในทางตรงกันข้าม ถึงแม้วิสัยทัศน์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้อาจจะดูไม่ดึงดูดใจเท่าที่ควร แต่ถ้าหากคนมีความชอบ ความเชื่อ หรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นๆก็มีโอกาสที่จะสำเร็จได้มากทีเดียว
ศรัทธา เป็นเรื่องของ ความชอบ ความเชื่อ เป็นเรื่องของการยอมรับ เป็นเรื่องของใจ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีเหตุมีผลกำกับเสมอไป ปัจจัยหลักในการสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ในตัวผู้นำ สิ่งนั้นก็คือคุณสมบัติในเรื่องการเป็น "ผู้ให้"
ผู้ นำที่แท้คือผู้ที่ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน แน่นอนที่สุดหากเรามองว่าธุรกิจคือการแข่งขัน เป้าหมายของการแข่งขันก็คือชัยชนะ ผู้เข้าร่วมแข่งขันทุกคนต่างก็ล้วนแต่ต้องการชัยชนะด้วยกันทั้งนั้น แต่สำหรับผู้นำที่แท้จริงแล้ว ชัยชนะที่เขาต้องการที่จะได้มานั้น เขามองมันในฐานะที่เป็นรางวัลสำหรับทุกคน มิใช่เพียงเพื่อตัวเขาเท่านั้น ผู้นำที่แท้ต้องการจะเห็นคนทุกคนที่ก้าวเดินไปพร้อมกับเขา มีความสุข ได้รับชัยชนะ ถึงแม้ว่าสายตาของเขาจะจับจ้องอยู่ที่ชัยชนะ แต่ก็เป็นชัยชนะเพื่อคนทุกคน เขาจะเป็นบุคคลที่คิดถึงตัวเองเป็นคนสุดท้ายเสมอ
การ ที่ผู้นำจำเป็นต้องเป็น "ผู้ให้" นั้น เท่ากับเป็นการตอกย้ำให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้นว่าผู้นำที่แท้จะต้องไม่เห็นแก่ ตัว จะต้องไม่มองประโยชน์เฉพาะส่วนของตน หากผู้ใดยึดประโยชน์ส่วนของตนเป็นที่ตั้งย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ที่ชัดเจนว่า คนผู้นั้นย่อมมิใช่ผู้นำที่แท้จริง ผู้นำจำเป็นจะต้องเสียสละ (sacrifice) ภาวะผู้นำกับเรื่องการเสียสละเป็นสิ่งที่ถือว่าคู่กัน ไม่มีความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ใดๆ จะเกิดขึ้นได้ หากปราศจากซึ่งการทุ่มเทและการเสียสละ Ralph Emerson

กิจกรรมที่ 3




       ประวัติส่วนตัว
         ศาสตราจารย์ ดร. ชัยอนันต์ สมุทวณิช อดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อดีตประธานกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เกิดวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487[1] เป็นบุตรของ พล.ต.ต.ชนะ สมุทวณิช นามสกุล "สมุทวณิช" เป็นนามสกุลพระราชทาน ในสมัยรัชกาลที่ 6
ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมรสกับ นางสุภาธร สมุทวณิช (สกุลเดิม สาครบุตร) มีบุตร 3 คนคือ นายพชร สมุทวณิช ผู้บริหารหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ,พลอย จริยะเวช นักเขียน นักแปล (สมรสกับ พันโทธีระ จริยะเวช กรมยุทธบริการ กองบัญชาการทหารสูงสุด) และ นายพลาย สมุทวณิช
ศ.ดร.ชัยอนันต์ ไม่ใช่เด็กเรียนดีมาก่อน จบมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากวชิราวุธวิทยาลัย ด้วยคะแนนเพียง 57.3% แต่พยายามจนสอบเข้า คณะรัฐศาสตร์ แผนกนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ สำเร็จ เรียนอยู่ 1 ปีสามารถสอบชิง ทุนโคลัมโบ ไปเรียนปริญญาตรีที่ มหาวิทยาลัยวิกตอเรีย ประเทศนิวซีแลนด์ ต่อมาสำเร็จปริญญาโท และ ปริญญาเอกทางรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2511
กลับมาเมืองไทยเข้าทำงานครั้งแรกที่กรมวิเทศสหการ จากนั้นสมัครเข้าเป็นอาจารย์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และต่อมาได้โอนย้ายมาสอนที่ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศ.ดร.ชัยอนันต์ มีบทบาทเคลื่อนไหวทางการเมืองมาโดยตลอด เป็นหนึ่งในผู้ลงชื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ 100 คนในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และ ในปี พ.ศ. 2531 ได้ร่วมกับนักวิชาการคนอื่นๆ เช่น ศ.ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ และ รศ.ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รวบรวมนักวิชาการ 99 คนลงชื่อเรียกร้องให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรณรงค์เรื่องนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง
ล่าสุด ศ.ดร.ชัยอนันต์ เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทเคลื่อนไหวในการเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549
ดร.ชัยอนันต์ เป็นนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ที่มีบทความลงตีพิมพ์ และเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะมีบุตรสาวคือ พลอย จริยะเวช ที่เป็นนักเขียน ดร.ชัยอนันต์ยังมีน้องชาย คือ ชัยศิริ สมุทวณิช บรรณาธิการอาวุโส หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน อดีตผู้บริหารบริษัทการบินไทย ที่มีงานเขียน เผยแพร่อย่างสม่ำเสมอเช่นเดียวกัน และ นายชัยศิริ ยังมีบุตรชายที่เป็นนักเขียนคือ กล้า สมุทวณิช เจ้าของนามปากกา "บุญชิต ฟักมี" อีกด้วย 


การศึกษา

การทำงาน


บทบาทในทางการเมืองในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549

ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ขณะนั้นเป็นคอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เป็นผู้ที่เขียนฎีกาเพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการชุมนุมวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุลปฏิญญาฟินแลนด์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ด้วย โดยเป็นผู้ทำนายว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร น่าจะพ้นจากตำแหน่งไม่เกินเดือนกรกฎาคม หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อีกทั้งยังเป็นวิทยากรในการอภิปรายในเรื่อง
อีกทั้งยังทำนายก่อนการพิจารณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์และพรรคไทยรักไทยล่วงหน้าหนึ่งวันว่า พรรคประชาธิปัตย์จะไม่ถูกยุบ แต่พรรคไทยรักไทยจะถูกยุบ ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น[2]

การดำรงตำแหน่งอื่นๆ

  • ประธานมูลนิธิ ไชย้ง ลิ้มทองกุล

เกียรติคุณ