มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ
1.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู
2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
- ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
- แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
3. มาตรฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม
การนำไปประยุกต์ใช้
เพื่อให้มีการรักษามาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคงความสำคัญของวิชาชีพ ทุกวงการวิชาชีพจึงมีกลยุทธ์ในการใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบ และวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ
12.26.2553
12.10.2553
กิจกรรมที่ 5
บทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้
“ต้นแบบ” ว่ามี 2 นัย นัยแรกคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่าง ศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ นัยที่สองคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรสิ่งดีงาม ต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ ไม่ต้องสอนกันตรง ๆ เพียงแค่ผู้ดูแบบ....ได้เห็น... ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติ ศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ แม้ไม่รู้จัก แม้เพียงแค่มอง ผู้ดูแบบก็ได้อานิสงส์มากมาย “แค่อยู่ให้เห็นก็เป็นแรงบันดาลใจมหาศาล”
จุดเริ่มต้นของการเกิดแรงบันดาลใจในชีวิตผู้ดูแบบ คือการ ได้รู้ ได้ดู ได้เห็นต้นแบบ เกิดศรัทธาต่อต้นแบบ เกิดแรงบันดาลใจให้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เลียนแบบของต้นแบบ หากเราเผยแพร่ตัวแบบที่ไม่เหมาะสมต้นแบบชองการกระทำในอบายมุข ต้นแบบของการฉ้อราษฎร์ ต้นแบบของการหยาบคายในกิริยาและวาจา ต้นแบบของการประจบสอพลอ ฯลฯ สังคมจะดูต้นแบบที่น่าชื่นใจเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างคุณภาพดีแก่เยาวชน แก่ประเทศชาติจากที่ไหน
นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร
นำมาพัฒนาในตนเองก็คือ เมื่อจะเป็นครูจะปฎิบัติตัวให้เหมาะสม ปฎิบัติตนให้ดี ให้ถูกต้อง และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกศิทย์และบุคคลทั่วไป เ และจะพยายามดูแบบอย่างที่ดีจากคนอื่นด้วย เพื่อมาปรับปรุงในสิ่งที่ไม่เหมาะสมในตัวของข้าพเจ้า
“ต้นแบบ” ว่ามี 2 นัย นัยแรกคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่าง ศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ นัยที่สองคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรสิ่งดีงาม ต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ ไม่ต้องสอนกันตรง ๆ เพียงแค่ผู้ดูแบบ....ได้เห็น... ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติ ศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ แม้ไม่รู้จัก แม้เพียงแค่มอง ผู้ดูแบบก็ได้อานิสงส์มากมาย “แค่อยู่ให้เห็นก็เป็นแรงบันดาลใจมหาศาล”
จุดเริ่มต้นของการเกิดแรงบันดาลใจในชีวิตผู้ดูแบบ คือการ ได้รู้ ได้ดู ได้เห็นต้นแบบ เกิดศรัทธาต่อต้นแบบ เกิดแรงบันดาลใจให้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เลียนแบบของต้นแบบ หากเราเผยแพร่ตัวแบบที่ไม่เหมาะสมต้นแบบชองการกระทำในอบายมุข ต้นแบบของการฉ้อราษฎร์ ต้นแบบของการหยาบคายในกิริยาและวาจา ต้นแบบของการประจบสอพลอ ฯลฯ สังคมจะดูต้นแบบที่น่าชื่นใจเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างคุณภาพดีแก่เยาวชน แก่ประเทศชาติจากที่ไหน
นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร
นำมาพัฒนาในตนเองก็คือ เมื่อจะเป็นครูจะปฎิบัติตัวให้เหมาะสม ปฎิบัติตนให้ดี ให้ถูกต้อง และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกศิทย์และบุคคลทั่วไป เ และจะพยายามดูแบบอย่างที่ดีจากคนอื่นด้วย เพื่อมาปรับปรุงในสิ่งที่ไม่เหมาะสมในตัวของข้าพเจ้า
12.09.2553
กิจกรรมที่ 4
ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่อง ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง และสรุปสิ่งที่นักศึกษาอ่านได้ลงในบล็อกของนักศึกษา
ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง
ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด
การ เปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เราทุกคนคงยอมรับว่าไม่มียุคสมัยใดที่การเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วและมีผลกระทบ รุนแรงเท่า ในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงได้สร้างหายนะ ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงก็ได้สร้างโอกาสใหม่ๆได้ ดังคำกล่าวของ ชาร์ล ดาร์วิน ที่ว่า "ผู้ที่อยู่รอด มิใช่เป็นสายพันธ์ (Species) ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด หากแต่ว่าเป็นผู้ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดต่างหาก"
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและยิ่งใหญ่คือ การปรับเปลี่ยนมุมมอง (ทิฏฐิ) และทัศนคติ (Attitude) การ รู้จักเปิดใจกว้าง ไม่ยึดติดอยู่กับความคิด หรือความรู้เดิมๆ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เป็นการเริ่มต้นสู่การเปิดรับสิ่งใหม่ด้วยใจที่ไม่อคติ (Bias)
การสร้างการเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกล่าวคงจะไม่ใช่เรื่องที่ง่าย หากเรายังใช้แต่หลักทางด้านการจัดการ (Management) อยู่ เรื่องการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน ซึ่งเรื่องของคนนั้นหากจะให้ได้ผลแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ (Leadership) มากกว่าที่จะใช้การจัดการ ภาวะผู้นำหรือความสามารถในการนำนี้ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ
การ สร้างศรัทธาเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การนำนี้สำเร็จ เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา วิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นมานั้นจะดึงดูดและชวนให้ตื่นตาตื่นใจสักเพียงใดก็ตาม แต่หากคนทั่วไปไม่ยอมรับนับถือหรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว
วิสัยทัศน์ที่วางไว้นั้นก็มักจะไร้ความหมาย ไม่มีน้ำหนัก ปราศจาก Momentum แต่ในทางตรงกันข้าม ถึงแม้วิสัยทัศน์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้อาจจะดูไม่ดึงดูดใจเท่าที่ควร แต่ถ้าหากคนมีความชอบ ความเชื่อ หรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นๆก็มีโอกาสที่จะสำเร็จได้มากทีเดียว
ศรัทธา เป็นเรื่องของ ความชอบ ความเชื่อ เป็นเรื่องของการยอมรับ เป็นเรื่องของใจ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีเหตุมีผลกำกับเสมอไป ปัจจัยหลักในการสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ในตัวผู้นำ สิ่งนั้นก็คือคุณสมบัติในเรื่องการเป็น "ผู้ให้"
ผู้ นำที่แท้คือผู้ที่ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน แน่นอนที่สุดหากเรามองว่าธุรกิจคือการแข่งขัน เป้าหมายของการแข่งขันก็คือชัยชนะ ผู้เข้าร่วมแข่งขันทุกคนต่างก็ล้วนแต่ต้องการชัยชนะด้วยกันทั้งนั้น แต่สำหรับผู้นำที่แท้จริงแล้ว ชัยชนะที่เขาต้องการที่จะได้มานั้น เขามองมันในฐานะที่เป็นรางวัลสำหรับทุกคน มิใช่เพียงเพื่อตัวเขาเท่านั้น ผู้นำที่แท้ต้องการจะเห็นคนทุกคนที่ก้าวเดินไปพร้อมกับเขา มีความสุข ได้รับชัยชนะ ถึงแม้ว่าสายตาของเขาจะจับจ้องอยู่ที่ชัยชนะ แต่ก็เป็นชัยชนะเพื่อคนทุกคน เขาจะเป็นบุคคลที่คิดถึงตัวเองเป็นคนสุดท้ายเสมอ
การ ที่ผู้นำจำเป็นต้องเป็น "ผู้ให้" นั้น เท่ากับเป็นการตอกย้ำให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้นว่าผู้นำที่แท้จะต้องไม่เห็นแก่ ตัว จะต้องไม่มองประโยชน์เฉพาะส่วนของตน หากผู้ใดยึดประโยชน์ส่วนของตนเป็นที่ตั้งย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้ที่ชัดเจนว่า คนผู้นั้นย่อมมิใช่ผู้นำที่แท้จริง ผู้นำจำเป็นจะต้องเสียสละ (sacrifice) ภาวะผู้นำกับเรื่องการเสียสละเป็นสิ่งที่ถือว่าคู่กัน ไม่มีความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ใดๆ จะเกิดขึ้นได้ หากปราศจากซึ่งการทุ่มเทและการเสียสละ Ralph Emerson
กิจกรรมที่ 3
ประวัติส่วนตัว
ศาสตราจารย์ ดร. ชัยอนันต์ สมุทวณิช อดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อดีตประธานกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เกิดวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487[1] เป็นบุตรของ พล.ต.ต.ชนะ สมุทวณิช นามสกุล "สมุทวณิช" เป็นนามสกุลพระราชทาน ในสมัยรัชกาลที่ 6
ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมรสกับ นางสุภาธร สมุทวณิช (สกุลเดิม สาครบุตร) มีบุตร 3 คนคือ นายพชร สมุทวณิช ผู้บริหารหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ,พลอย จริยะเวช นักเขียน นักแปล (สมรสกับ พันโทธีระ จริยะเวช กรมยุทธบริการ กองบัญชาการทหารสูงสุด) และ นายพลาย สมุทวณิช
ศ.ดร.ชัยอนันต์ ไม่ใช่เด็กเรียนดีมาก่อน จบมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากวชิราวุธวิทยาลัย ด้วยคะแนนเพียง 57.3% แต่พยายามจนสอบเข้า คณะรัฐศาสตร์ แผนกนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ สำเร็จ เรียนอยู่ 1 ปีสามารถสอบชิง ทุนโคลัมโบ ไปเรียนปริญญาตรีที่ มหาวิทยาลัยวิกตอเรีย ประเทศนิวซีแลนด์ ต่อมาสำเร็จปริญญาโท และ ปริญญาเอกทางรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2511
กลับมาเมืองไทยเข้าทำงานครั้งแรกที่กรมวิเทศสหการ จากนั้นสมัครเข้าเป็นอาจารย์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และต่อมาได้โอนย้ายมาสอนที่ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศ.ดร.ชัยอนันต์ มีบทบาทเคลื่อนไหวทางการเมืองมาโดยตลอด เป็นหนึ่งในผู้ลงชื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ 100 คนในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และ ในปี พ.ศ. 2531 ได้ร่วมกับนักวิชาการคนอื่นๆ เช่น ศ.ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ และ รศ.ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รวบรวมนักวิชาการ 99 คนลงชื่อเรียกร้องให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรณรงค์เรื่องนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง
ล่าสุด ศ.ดร.ชัยอนันต์ เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทเคลื่อนไหวในการเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549
ดร.ชัยอนันต์ เป็นนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ที่มีบทความลงตีพิมพ์ และเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะมีบุตรสาวคือ พลอย จริยะเวช ที่เป็นนักเขียน ดร.ชัยอนันต์ยังมีน้องชาย คือ ชัยศิริ สมุทวณิช บรรณาธิการอาวุโส หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน อดีตผู้บริหารบริษัทการบินไทย ที่มีงานเขียน เผยแพร่อย่างสม่ำเสมอเช่นเดียวกัน และ นายชัยศิริ ยังมีบุตรชายที่เป็นนักเขียนคือ กล้า สมุทวณิช เจ้าของนามปากกา "บุญชิต ฟักมี" อีกด้วย
การศึกษา
- วชิราวุธวิทยาลัย
- แผนกนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปริญญาตรี Victoria University of Wellington นิวซีแลนด์
- ปริญญาโท-เอก มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา
การทำงาน
- นายกราชบัณฑิตยสถาน
- พ.ศ. 2518 : อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตำแหน่งสุดท้ายคือ ศาสตราจารย์ระดับ 11 (พ.ศ. 2518-2538)
- พ.ศ. 2524 : ราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
- พ.ศ. 2531 : ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
- พ.ศ. 2535 : ได้รับแต่งตั้งเป็น วุฒิสมาชิก (พ.ศ. 2535 - 2540)
- พ.ศ. 2539 : ผู้บังคับการ วชิราวุธวิทยาลัย (พ.ศ. 2539 - 2550)
- พ.ศ. 2541 : ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ (11 เมษายน พ.ศ. 2541 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2543)
- พ.ศ. 2544 : กรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (พ.ศ. 2544-2547)
- พ.ศ. 2547 : ประธานกรรมการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) (พ.ศ. 2547) (ลาออก 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549)
- ประธานคณะกรรมการแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542
- พ.ศ. 2549 : สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
บทบาทในทางการเมืองในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549
ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ขณะนั้นเป็นคอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เป็นผู้ที่เขียนฎีกาเพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการชุมนุมวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุลปฏิญญาฟินแลนด์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันพุธที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ด้วย โดยเป็นผู้ทำนายว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร น่าจะพ้นจากตำแหน่งไม่เกินเดือนกรกฎาคม หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อีกทั้งยังเป็นวิทยากรในการอภิปรายในเรื่อง
อีกทั้งยังทำนายก่อนการพิจารณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์และพรรคไทยรักไทยล่วงหน้าหนึ่งวันว่า พรรคประชาธิปัตย์จะไม่ถูกยุบ แต่พรรคไทยรักไทยจะถูกยุบ ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น[2]
การดำรงตำแหน่งอื่นๆ
- ประธานมูลนิธิ ไชย้ง ลิ้มทองกุล
เกียรติคุณ
- นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2529 สาขา รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สภาวิจัยแห่งชาติ
11.28.2553
กิจกรรทที่2
ให้นักศึกษาศึกษาทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ ในประเด็นนี้
1. มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฎีใครบ้าง
2. นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
ให้สรุปเขียนลงในกิจกรรมที่ 2 ลงในเว็บล็อกของนักศึกษา โดยสรุปจากการอ่านของนักศึกษาให้มีการอ้างอิงสิ่งที่นักศึกษานำมาใช้เขียน
หลักการบริหารจัดการ
การบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี ฟาโยล (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน “จิตวิทยา” Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)
ทฤษฎีบริหารจัดการ
ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
ทฤษฎีการบริหารแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มคลาสสิค (Classical Organizational Thought)
เป็นรูปแบบการบริหารที่มีหลักเกณฑ์(Scientific Management)
Taylor Fayol เน้นหน้าที่ในการบริหาร
1. ค้นวิธีทำงานที่ดีที่สุด 1. การวางแผน (P)
2. คัด/พัฒนาคน 2. การจัดองค์กร(O)
3. วิธีทำงาน 3. การบังคับบัญชา(C)
4. ประสานงาน 4. การประสานงาน(C)
5. การควบคุมงาน(C)
2. การบริหารกลุ่มมนุษยสัมพันธ์
การทดลอง Hawthorn Plant ของ Mayoมีแนวคิด 5 ข้อที่มุ่งคนเป็นหัวใจของการบริหาร
1. กฎเกณฑ์การทำงานของคนในกลุ่ม
2. รางวัลคนในกลุ่ม
3. ความรับผิดชอบของคนในกลุ่ม ผู้บิหารควบคุมน้อยสุด
4. การบังคับบัญชาแบบมีส่วนร่วม
5. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในกลุ่ม
3. ทฤษฎีการบริหารแบบพฤติกรรมศาสตร์
แมกเกรเกอร์ (McGregor)แบ่งธรรมชาติคนเป็น 2 แบบคือ
ทฤษฎี X ทฤษฎี Y
มองคนในแง่ไม่ดี มองคนในแง่ดี
1.กลุ่มคลาสสิค (Classical Organizational Thought)
ผู้ที่คิดค้นทฤษฎีนี้คือ เฟรดเดอร์ริค เทเลอร์ (Frederick w. Taylor) ซึ่งได้รับการยกย่องว่า เป็นบิดาของทฤษฎีบริหารกลุ่มคลาสสิค โดยมีความเชื่อว่า เขาสามารถวางหลักเกณฑ์ให้ผู้ปฏิบัติงานมีความสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพได้
ต่อมา ลินคอน เออวิค (Lyndall Urwick) และ ลูเธอร์ กูลิค (Luther Gulick) ได้ทำการวิจัยพบว่า พฤติกรรมของผู้บริหารจะประกอบด้วยหลักที่ นิยมเรียกกันว่า POSDCoRB
2.กลุ่มมนุษยสัมพันธ์(Human Relation Approach)
ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นเพื่อปรับปรุงจุดอ่อนของกลุ่มทฤษฎีคลาสสิค โดยได้มีการทดลองที่ Hawthorne Plant ซึ่งกำหนดสมมติฐานว่า “มีความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพและปริมาณของแสงสว่างกับประสิทธิภาพของงาน” จากผลการทดลอง 3 ครั้ง พบว่า ผลผลิตของคนงานไม่มีความสัมพันธ์กับสภาพของแสงสว่างและมีตัวแปรหลายตัวที่ไม่สามารถควบคุมได้ระหว่างการทดลอง
ต่อมาได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อตรวจสอบผลการทดลองที่ Hawthorne Plant โดยตั้งสมมติฐานว่า สิ่งแวดล้อมทางกายภาพของการทำงานมีความ สัมพันธ์กับผลผลิตที่ได้รับ
ผลการทดลองพบว่า
พฤติกรรมการทำงานของพนักงาน ไม่ได้เกิดจากมาตรฐานงานที่องค์การกำหนด พนักงานรวมตัวกันเป็นโครงสร้างสังคมกลุ่มย่อย อันประกอบด้วย ปทัสถาน (norms) ค่านิยม (value) และ จิตใจ (sentiments) ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน
3. กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach)
ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นโดยการผสมผสานระหว่างสอง ทฤษฎีแรก ผนวกกับหลักการทางด้านจิตวิทยา สังคมวิทยา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ เป็นกลุ่ม ทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมทางสังคมหรือพฤติกรรมของกลุ่มย่อยที่เหมาะสมกับโครงสร้างการบริหารงานรูปแบบ
ซึ่ง อาจต้องใช้ศาสตร์การบริหารที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา หรือ อื่น ๆ ศาสตร์เหล่านี้จัดได้ว่า เป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมกลุ่มย่อย ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานและประสิทธิภาพประสิทธิผลของงานในองค์การ
4. กลุ่มทฤษฎีระบบ (A System View)
ทฤษฎีการบริหารในปัจจุบันได้พยายามให้ความสำคัญกับระบบ กล่าวคือ มีปัจจัยป้อน (input)กระบวนการ(process) และผลผลิต (output) ที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน กลุ่มทฤษฎีระบบแยกเป็น2 กลุ่ม คือ
4.1 ระบบปิด(ระบบเหตุผล)
มี ความเชื่อว่า องค์การเป็นเครื่องมือที่ออกแบบมา เพื่อให้การทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ แนวคิดนี้มีการตัดสินใจ แก้ปัญหาตามเหตุผลบนฐานของกฎเกณฑ์ ระเบียบที่ตั้งไว้ เน้นความสนใจเฉพาะภายในระบบขององค์กร
4.2 ระบบเปิด
เชื่อ ว่า องค์การมีศักยภาพที่จะได้รับข้อมูลย้อนกลับ เพื่อนำข้อมูลย้อนกลับมาปรับปรุงส่วนต่างๆ ของระบบคือ ปัจจัยป้อน กระบวนการ และผลผลิตโดยองค์การที่อยู่รอดคือ องค์การที่ปรับตัวได้สมดุลกับสิ่งแวดล้อม และเป็นองค์การเปิด เน้นความสนใจระบบทั้งในและ นอกองค์การ
อ้างอิง
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, และวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริพงษ์ เศาภายน, (2548). หลักการบริหารการศึกษา : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.
สมศักดิ์ คงเที่ยง, (ม.ป.ป.) หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : มิตรภาพ การพิมพ์และสติวดิโอ
11.16.2553
ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นางสาวจุฬาพิชญ์ ขำเกิด รหัสนักศึกษา5111116001
ชื่อเล่น โมศึกษาที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช หลักสูตรสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ 3
วันเกิด 28 ธันวาคม 2532
มีพี่น้อง 2 คน เป็นพี่คนโต
ที่อยู่ 2/3 ม.4 ต.กำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช 80230
สีที่ชอบ ม่วง ฟ้า ดำ
ประวัติการศึกษา
ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงณ์
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา
ระดับมัธยมตอนปลาย โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ปรัชญา
เมื่อประตูบานหนึ่งปิด.. อีกบานหนึ่งก็เปิด..
แต่บ่อยครั้ง..ที่เรามัวแต่จ้องประตูบานที่ปิด
จนไม่ทันเห็นว่า..มีอีกบาน-ที่เปิดอยู่
...........................................................
11.08.2553
บทความใหม่
น่าเสียดาย ที่เรามีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
แต่เรากลับศรัทธาไสยศาสตร์หัวปักหัวปำ
น่าเสียดายที่เรามีพระมหากษัตริย์ที่แสนดี
แต่เรากลับมีคนโกงกินเต็มบ้านเต็มเมือง
น่าเสียดายที่เรามีวัดอยู่เกือบทุกหมู่บ้าน/ตำบล
แต่เรากลับมากด้วยคนขาดจริยธรรมอยู่ทั่วไป
น่าเสียดาย ที่เราสถาปนาประชาธิปไตยตั้งแต่ พ.ศ. 2475
แต่เรากลับมีปฏิวัติ/รัฐประหารมาแล้ว14 ครั้ง
น่าเสียดายที่เรามีมหาวิทยาลัยมากมายติดอันดับโลก
แต่เรากลับโชคร้ายที่คนไทยชอบดูดวงบวงสรวงเทพยดา
น่าเสียดายที่เรามีป่าไม้-แม่น้ำ-ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์
แต่เรากลับเทิดทูนการทำลายแทนการรักษา
น่าเสียดาย ที่เรามีศิลปวัฒนธรรมเป็นของตนเอง
แต่เรากลับเก่ง "การลอกเลียนแบบ" เป็นที่สุด
น่าเสียดายที่เรามีสื่อมวลชนมากมายไร้พรมแดน
แต่เจ็บปวดเหลือแสนเมื่อสื่อมวลชนมุ่งแต่การขายสินค้า
น่าเสียดาย ที่เรามีกฎหมาย
แต่เรากลับปล่อยให้มีการใช้กฎหมู่จนเป็นเรื่องธรรมดา
น่าเสียดาย ที่เรามีหนังสือมากมายหลายพันเล่มในห้องสมุด
แต่สถิติสูงสุดคือเราอ่านหนังสือกันปีละ8 บรรทัด
น่าเสียดายที่เรามีอินเทอร์เน็ตใช้ก่อนประเทศในโลกที่สาม
แต่เรากลับเสื่อมทรามเพราะใช้ส่งภาพถ่ายคลิปโป๊
น่าเสียดายที่เรามีโทรทัศน์หลายสิบช่อง
แต่เรากลับจ้องจะดูแต่ละครน้ำเน่า
น่าเสียดาย ที่เรามีพ่อแม่อยู่ในบ้าน
แต่เรากลับปล่อยให้ท่านอยู่อย่างเปลี่ยวเหงา
น่าเสียดายที่เราสามารถกลับตัวเป็นคนดีได้
แต่เรากลับชอบใจที่จะเป็นคนเลวตลอดกาล
น่าเสียดายที่เราเป็นอิสระจากความอยากได้
แต่เรากลับพึงใจอยู่กับการสนองความอยาก
น่าเสียดาย ที่เราบรรลุนิพพานได้ในชาตินี้
แต่เรากลับยินดีอยู่แค่การทำบุญให้ทาน
แต่เรากลับศรัทธาไสยศาสตร์หัวปักหัวปำ
น่าเสียดายที่เรามีพระมหากษัตริย์ที่แสนดี
แต่เรากลับมีคนโกงกินเต็มบ้านเต็มเมือง
น่าเสียดายที่เรามีวัดอยู่เกือบทุกหมู่บ้าน/ตำบล
แต่เรากลับมากด้วยคนขาดจริยธรรมอยู่ทั่วไป
น่าเสียดาย ที่เราสถาปนาประชาธิปไตยตั้งแต่ พ.ศ. 2475
แต่เรากลับมีปฏิวัติ/รัฐประหารมาแล้ว14 ครั้ง
น่าเสียดายที่เรามีมหาวิทยาลัยมากมายติดอันดับโลก
แต่เรากลับโชคร้ายที่คนไทยชอบดูดวงบวงสรวงเทพยดา
น่าเสียดายที่เรามีป่าไม้-แม่น้ำ-ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์
แต่เรากลับเทิดทูนการทำลายแทนการรักษา
น่าเสียดาย ที่เรามีศิลปวัฒนธรรมเป็นของตนเอง
แต่เรากลับเก่ง "การลอกเลียนแบบ" เป็นที่สุด
น่าเสียดายที่เรามีสื่อมวลชนมากมายไร้พรมแดน
แต่เจ็บปวดเหลือแสนเมื่อสื่อมวลชนมุ่งแต่การขายสินค้า
น่าเสียดาย ที่เรามีกฎหมาย
แต่เรากลับปล่อยให้มีการใช้กฎหมู่จนเป็นเรื่องธรรมดา
น่าเสียดาย ที่เรามีหนังสือมากมายหลายพันเล่มในห้องสมุด
แต่สถิติสูงสุดคือเราอ่านหนังสือกันปีละ8 บรรทัด
น่าเสียดายที่เรามีอินเทอร์เน็ตใช้ก่อนประเทศในโลกที่สาม
แต่เรากลับเสื่อมทรามเพราะใช้ส่งภาพถ่ายคลิปโป๊
น่าเสียดายที่เรามีโทรทัศน์หลายสิบช่อง
แต่เรากลับจ้องจะดูแต่ละครน้ำเน่า
น่าเสียดาย ที่เรามีพ่อแม่อยู่ในบ้าน
แต่เรากลับปล่อยให้ท่านอยู่อย่างเปลี่ยวเหงา
น่าเสียดายที่เราสามารถกลับตัวเป็นคนดีได้
แต่เรากลับชอบใจที่จะเป็นคนเลวตลอดกาล
น่าเสียดายที่เราเป็นอิสระจากความอยากได้
แต่เรากลับพึงใจอยู่กับการสนองความอยาก
น่าเสียดาย ที่เราบรรลุนิพพานได้ในชาตินี้
แต่เรากลับยินดีอยู่แค่การทำบุญให้ทาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)